หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พัฒนาการของเครื่องจักรกลเอ็นซีและซีเอ็นซี

1.1          ประวัติของเครื่องจักรกลเอ็นซี
             ในสภาวะที่เศรษฐกิจเจริญเติบโตขี้นมาเรื่อย ๆ และจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ความต้องการทางด้านปัจจัย 4 ก็มีเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ  การแข่งขันทางการค้าก็ยิ่งทวีสูงขึ้นเรื่อย ๆ เหตุต่าง ๆ เหล่านี้  ทำให้มนุษย์มีความจำเป็นที่จะต้องคิดค้นและพัฒนาการผลิตให้รวดเร็วและประหยัดเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นเครื่องจักรกลอัตโนมัติได้ถูกออกแบและพัฒนาสร้างขึ้นมาให้สามารถทำงานซ้ำ ๆ กันได้ทุกเวลาที่ต้องการ ซึ่งระบบการทำงานอัตโนมัติเป็นที่รู้จักรกันอย่างแพร่หลาย เช่น เครื่องเล่นเปียนโนอัติโนมัตซึ่งทำงานโดยอาศัยระบบแมคคานิคควบคุม เครื่องกลึงอัตโนมัติที่ควบคุมการทำงานด้วนลูกเบี้ยว แต่เครื่องจักรเหล่านี้ข้อเสียตรงที่ การเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หรือชิ้นงานใหม่ต้องใช้เวลามาก และการเปลี่ยนลักษณะงานมีขีดจำกัด
            ในปี ค.ศ. 1948 นักวิทยาศาสตร์ในสถาบัน MIT (Massachusetts Institute of Techonlogy) ได้ริเริ่มทำโครงการพัฒนาเครื่องจักรกลที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ขึ้น  โดยได้รับการสนับสนุนโครงการจากกองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกา (U.S. Sir Force)
            เครื่องจักรระบบเอ็นซีเครื่องแรกคือ CINCINNATIC HYDROTEL VERTICAL-SPINDLE MACHINE และนำออกให้งานในปี ค.ศ. 1957
1.2       เอ็นซีและซีเอ็นซีความหมายของ
            เอ็นซี (NC) ย่อมาจากคำว่า Numerical Control หมายถึง การควบคุมเครื่องจักรกลด้วยระบบตัวเลขและตัวอักษร ซึ่งคำจำกัดความนี้ได้จากประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ การเคลื่อนที่ต่าง ๆ ตลอดจนการทำงานอื่นๆ ของเครื่องจักรกล จะถูกควบคุมโดยรหัสคำสั่งที่ประกอบด้วยตัวเลข ตัวอักษร และสัญบักษณ์อื่นๆ ซึ่งจะถูกแปลงเป็นคลื่นสัญญาณ (pulse) ของกระแสไฟฟ้าหรือสัญญาณออกอื่นๆ  ที่จะไปกระตุ้นมอเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อทำให้เครื่องจักรกลทำงานตามขั้นตอนที่ต้องการ
            ซีเอ็นซี (CNC)  ย่อมากจากคำว่า Computerized  Numerical Control ระบบควบคุมเอ็นซีแบบนี้จะมีคอมพิวเตอร์ที่มีความสารถสูงเพิ่มเข้าไปภายในระบบ  ทำให้สามารถจัดการกับข้อมูลที่ป้อนเข้าไปในระบบ เอ็นซี และประมวลผลข้อมูลเพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้ไปควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกล
             ในปัจจุบันเครื่องจักกลเอ็นซีส่วนมากจะหมาถึง  เครื่องจักรกลซีเอ็นซี ทั้งนี้เพราะว่าระบบเอ็นซีที่ไม่มีคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบ มักไม่นิยมสร้างใช้แล้ว  เนื่องจากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันมีราคาค่อนข้างถูก ดังนั้น ราคาของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ที่เพิ่มขึ้นมา เกือบจะไม่ต้องการนำมาพิจารณาเมื่อเทียบกับราคาของเครื่องจักรทั้งเครื่อง
1.3       ความแตกต่างระหว่างเครื่องจักรเอ็นซีกับเครื่องจักรกลทั่วไป
            เครื่องจักรกลทั่วไป แท่นเลื่อน ( slides ) ที่ทำหน้าที่นำชิ้นงานหรือเครื่องมือตัดให้เคลื่อนที่ไปตามรางเลื่อน ( Slideways ) โดยการหมุนมือหมุน หรือโดยการต่อกลไกป้อนอัตโนมัติ เช่น ลูกเบี้ยวในเครื่องกลึงอัตโนมัติ ซึ่งในขณะเดียวกันช่างควบคาเครื่องจะต้องปฏิบัติงานในหน้าที่อื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการตัดเฉือนชิ้นงานนั้น ๆ ด้วย

เช่น เปิดและปิดสวิตช์ควบคุมการหมุนของเพลาหัวเครื่อง เปลี่ยนอัตราป้อนและความเร็วรอบ เปิดและปิดสวิตช์สารหล่อเย็น เป็นต้น ในการปฏิบัติงานหน้าที่ต่าง ๆ เหล่านี้ ช่างควบคุมเครื่องจะต้องใช้ทั้งวิจารณญานและการตัดสินใจร่วมกัน การตัดสินใจเหล่านี้จะต้องกระทำซ้ำ ๆ กันตลอดเวลาที่ทำการผลิตชิ้นงานนั้น ถึงแม้จะเป็นการผลิตชิ้นงานที่มีรูปทรงเดียวกันก็ตาม
               ส่วนเครื่องจักรกลเอ็นซี การเคลื่อนที่ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการผลิตชิ้นงานจะทำงานโดยอัตโนมัติด้วยตัวเครื่องจักรกลเอง ตามข้อมูลตัวเลข (Numerical Information)  ที่ป้อนให้กับระบบควบคุมของเครื่องจักรกลเอ็นซีในรูปแบบรหัส ( code)  ที่ระบบควบคุมของเครื่องสามารถเข้าใจได้
            ความแตกต่างในการใช้เครื่องจักรกลเอ็นซี เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องจักรกลที่ใช้ทั่วไปก็คือ การตัดสินใจในการกำหนดขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ จะกระทำเพียงครั้งเดียว กล่าวคือ จะกระทำในขั้นตอนการวางแผนและสร้างโปรแกรม สำหรับควบคุมเครื่องจักรกลเท่านั้น ต่อจากนั้น  โปรแกรมก็จะถูกนำไปใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกล สำหรับการผลิตชิ้นงานที่ต้องการ  โดยสามารถทำการผลิตซ้ำ ๆ กันกี่ครั้งก็ได้ตามต้องการ
           นอกเหนือจากโปรแกรมการทำงาน ซึ่งเปรียบเสมือนการวางแผนการทำงานที่ได้จัดเตรียมขั้นตอนการทำงานทุกขั้นตอน  การป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้  ตลอดจนการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้แล้วนั้นการผลิตชิ้นงานด้วนเครื่องจักรกลเอ็นซียังช่วยลดเวลาการทำงานอื่น ๆ ที่จำเป็นด้วย เช่น ลดเวลาการตรวจสอบขนาดของชิ้นงาน ลดเวลาในการปรับตำแหน่งของชิ้นงาน ลดเวลาในการปรับเปลี่ยนความเร็วรอบในการทำงาน เป็นต้น
                                                                                                                     
1.4       ความแตกต่างระหว่างระบบเอ็นซีกับระบบซีเอ็นซี
                   ระบบซีเอ็นซีเป็นระบบที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากระบบเอ็นซี ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างระบบเอ็นซีกับระบบซีเอ็นซี ก็จะอยู่ที่    ความสามารถของระบบควบคุม นั่นคือ  คอมพิวเตอร์ เมื่อนำระบบซีเอ็นซีไปควบคุมเครื่องจักรกล ความสามารถในการทำงานต่าง ๆ จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องจักรกลเอ็นซีดังนี้
1.        การแสดงภาพจำลอง (Simuiation) การทำงานตามโปรแกรมที่ป้อนเข้าในระบบทางจอภาพ
2.        ความจุของหน่วยความจำเพิ่มมากขึ้น สามารถเก็บข้อมูลโปรแกรมได้มาก
3.        การแก้ไขและลบโปรแกรมสามารถกระทำได้ที่เครื่องจักรโดยตรง

4.        สามารถส่งข้อมูลไปเก็บไว้ในหน่วยความจำภายนอกได้
5.        ระบบความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น
6.        มีการชดเชยความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการวัดและการส่งกำลัง
7.        มีโปรแกรมสำเร็จสำหรับการคำนวณค่าต่าง ๆ  เช่น ความเร็วรอบ อัตราป้อน เป็นต้น
1.5       ข้อดีและข้อเสียของเครื่องจักรกลเอ็นซีและซีเอ็นซี
             เครื่องจักรกลเอ็นซีและซีเอ็นซีเป็นเครื่องจักรกลสมัยใหม่ ที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูง แต่ในขณะเดียวกันราคาก็สูงตามด้วย ดั้งนั้น  ก่อนที่จะพิจารณาจัดซื้อเครื่องจักรกลประเภทนี้ มาใช้ในกระบวนการผลิต จำเป็นจะต้องศึกษารายละเอียดต่าง ๆ  เกี่ยวกับขีดความสามารถของเครื่อง ตลอดจนข้อดีและข้อเสียของเครื่องจักรกลประเภทนี้ก่อน
            ข้อดีของเครื่องจักรกลเอ็นซีและซีเอ็นซี เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องจักรกลอัตโนมัติประเภทอื่น ๆ พอจะสรุปได้ดังนี้
1.        มีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง : การเปลี่ยนงานใหม่จะแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลเฉพาะโปรแกรมเท่านั้น
2.        ความเที่ยงตรง (Accuracy) จะอยู่ระดับเดียวกันตลอดช่วงความเร็วรอบและอัตราป้อนที่ใช้ทำการผลิต
3.        ใช้เวลาในการผลิต (Production Time) สั้นกว่า
4.        สามารถใช้ผลิตชิ้นงานที่มีรูปทรงซับซ้อนได้ง่าย
5.        การปรับตั้งเครื่องจักรกระทำได้ง่าย ใช้เวลาน้อยกว่าการผลิตด้วยวิธีอื่น ๆ
6.        หลีกเลี่ยงความจำเป็นที่ต้องใช้ช่างควบคุมที่มีทักษะและประสบการณ์สูง
7.        ช่างควบคุมเครื่องมีเวลาว่างจากการควบคุมเครื่อง สามารถที่จะจัดเตรียมงานอื่น ๆ ไว้ล่วงหน้าได้
8.        การตรวจสอบคุณภาพไม่จำเป็นต้องกระทำทุกขั้นตอนและทุกชิ้น
ส่วนข้อเสียของเครื่องจักรกลเอ็นซีและซีเอ็นซีมีดังนี้
1.        ราคาของเครื่องจักรค่อนข้างสูง
2.        การบำรุงรักษามีความซับซ้อนมาก
3.        จำเป็นต้องใช้ช่างเขียนโปรแกรม (Part Porgrammer) ที่มีทักษะสูงและฝึกอบรมมาโดยเฉพาะ
4.        ชิ้นส่วนหรืออะไหล่ที่ใช้ในการซ่อมบำรุง ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ จำเป็ต้องสั่งซิ้อหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศ
5.        การซ่อมบำรุงจะต้องใช้ช่างที่มีประสบการณ์สูงและผ่านการฝึกอบรมมาโดยเฉพาะ
6.        ราคาของเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการตัดเฉือน เช่น แกนเพลายึดมีดกัด มีดกลึงแบบใช้อินเสิร์ต (Insert) เป็นต้น มีราคาสูง
7.        พื้นที่ติดตั้งเครื่องจักร จะต้องควบคุมระดับอุณหภูมิ ความชื้น และฝุ่นละออง

           ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะพิจารณาจัดซื้อ ซึ่งสามารถสอบถามได้จากบริษัทผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายได้โดยตรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น